วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2562

Learning Log 6

💢 Learning Log 6 💢

Monday 9th September 2019 -

🔸 วันนี้อาจารย์ได้ให้ทบทวนการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวและจังหวะ พร้อมกับให้ทดลองสอนและอัด VDO ลงใน Blog เพื่อเป็นการบันทึก 
🔸 ต่อมาเพื่อนได้ทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
ถ้าครูเคาะ .... (จังหวะปกติ) ให้เด็กๆเดินไปรอบๆบริเวณห้องเป็นช้างตามจังหวะที่คุณครูเคาะ
ให้เด็กๆฟัง และปฏิบัติตามสัญญาณ 
ตัวอย่างเช่น ครูแจกกระดาษให้เด็กๆคนละ 1 ใบ แล้วถามคำถามว่า "ถ้าเราไม่ถือกระดาษไว้ที่มือ เด็กๆคิดว่าเราจะใช้อะไรทำให้เรานำกระดาษเคลื่อนที่ไปด้วย ? " 
สัมพันธ์เนื้อหา ➨ สามารถใช้คำสั่งเคลื่อนไหวมาสั่งกำหนดจังหวะในช่วงนี้ได้
✎ ก่อนจะเข้าใจการสอนแบบใหม่ๆ ต้องเข้าใจการสอนแบบเดิมก่อน 

คำพูดสั้น กระชับ เข้าใจง่าย




การทดลองสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
ซึ่งยังมีข้อผิดพลาดหลายจุดที่ต้องแก้ไขและปรับปรุง






⏰ Assessment 

Self-Assessment : วันนี้รู้สึกว่าไม่ค่อยกระตือรือร้นเท่าไหร่ แต่ก็พยายามตั้งใจฟังและสนใจดูตัวอย่างที่เพื่อนได้นำเสนอ 
Member Assessment : เพื่อนๆมีส่วนร่วมช่วยกันในการทดลองสอนและทำกิจกรรมต่างๆ
Teacher Assessment : อาจารย์อธิบาย ชี้แจงจุดที่ต้องแก้ไข พร้อมแก้ไขให้ถูกต้อง สอนให้เลือกใช้คำพูดที่สอนแล้วเด็กจะเข้าใจง่ายขึ้น




Learning Log 5

💢 Learning Log 5 💢

Monday 2nd September 2019 -


✨ การออกแบบกิจกรรม 
     1. เกี่ยวข้องกับตัวเด็ก/เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก
     2. ส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก ในช่วงเวลานั้นๆ 
สมรรถนะ หรือ ความสามารถ (คือเด็กทำได้ตามคำสั่ง) จะเกิดขึ้นได้ ครูต้องจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 เด็กได้เลือกและตัดสินใจลงมือด้วยตนเองอย่างสนุกสนาน ซึ่งตรงกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก คือ การเล่น เมื่อเด็กมีความสุข จะปรับประสบการณ์ที่มีคุณภาพ 
ตัวอย่าง เช่น การส่งเสริมกระบวนการคิด EF 
 สมองและความรู้สึกจะดีและมีความสุขเพราะเด็กได้เป็นคนเลือกเอง 
✨ ตัวชี้วัด ➔ สภาพที่พึงประสงค์ ➔ เกิดคุณภาพ 
เพื่อให้รู้ว่าเรามีหลักการ 

ประสบการณ์สำคัญ 
กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 
ให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
ความสัมพันธ์ระหว่างมือ-ตา
การพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่ การขว้าง-ปา,โยนห่วง, เดิน เตะ วิ่ง กระโดด เดินปลายเท้า เป็นต้น
⇨ การเคลื่อนที่-อยู่กับที่ 

เป้าหมายของการเคลื่อนไหวและจังหวะ 
วิธีการ/รูปแบบ
การเคลือนไหวพื้นฐาน ให้นึกถึงกิจกรรมพื้นๆ 
⇨ ตามคำบรรยาย 
⇨ ตามคำสั่ง (แฝงอยู่ในตัวอื่นๆได้หมด)
⇨ ผู้นำผู้ตาม - เด็กมีโอกาสได้คิด/เลือกหลากหลาย 
เด็กได้คิด คือ การจัดกิจกรรมแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

อันดับแรก การบริหารชั้นเรียน คือ การให้เด็กหาพื้นที่ให้ตัวเอง เช่น กางแขน ขา วนตัว (ได้ทักษะคณิตศาสตร์ การหาพื้นที่ให้ตัวเอง หารัศมีโดยใช้แขน ใช้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง) การมีประสบการณ์ด้วยวิธีการที่หลากหลาย ทำให้เด็กมีต้นทุนทางความคิดสร้างสรรค์ กล่าวคือ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ในวัยแรกเกิด-6ปี เป็นวัยทองแห่งการเรียนรู้ สิ่งต่างๆที่จัดประสบการณ์เป็นต้นทุนในการดำเนินชีวิตให้แก่เด็ก

✨ การใช้คำพูดอย่างไร...ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้เลือก ?? 
หาพื้นที่บริเวณรอบๆอย่างอิสระ
⇨ ให้เด็กๆหาพื้นที่ให้กับตัวเองโดยใช้อวัยวะส่วนไหนก็ได้
⇨ หาพื้นที่ทำ รัง (เปลี่ยนตามหน่วยได้) ให้ตัวเอง
⭐ ในขณะที่ให้เด็กหาพื้นที่ เด็กจะได้ประสบการณ์ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คุณธรรม-จริยธรรม
⭐ ทุกครั้งต้องไม่หลุด วัตถุประสงค์ ของกิจกรรมนั้นๆ ความจำ (เรื่องการตกลงมุมต่างๆ)

เวลาจะทำอะไรก็ตาม ที่เราจะใช้คำว่า ปกติ (จังหวะ) 
จะต้องมีเกณฑ์ที่ ปกติ ก่อนจะมีจังหวะช้า-เร็ว 

การเน้นผู้เรียนสำคัญ ➔ ให้เด็กได้เลือกเพื่อน/ขออาสาสมัครให้ ออกมานำ 




⏰ Assessment 

Self-Assessment : เข้าเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นบางครั้ง เนื่องจากป่วย
Member Assessment : เพื่อนๆมีจิตอาสาเป็นตัวแทนในการออกไปทดลองสอน พร้อมแก้ไขปรับปรับเมื่ออาจารย์ให้คำแนะนำ
Teacher Assessment : อาจารย์ให้นักศึกษาลองทำเองก่อน หากมีข้อผิดพลาดหรือจุดที่ควรแก้ไขปรับปรุง อาจารย์ก็จะเสนอแนะและให้แก้ไขทันที